สารสำคัญหลัก1: ในใบอาร์ทิโชกมีสารประกอบหลักสำคัญ ได้แก่
– 2% เป็นสารกลุ่ม phenolic acid ซึ่งสารหลักในกลุ่มนี้คือ chlorogenic acid, cynarin และ caffeic acid
– 0.4% เป็นสารกลุ่ม bitter sesquiterpene lactones
– 0.1-1% เป็นสารในกลุ่ม flavonoids ประกอบด้วย lutelin, phytosterols, sugars, inulin, enzyme และ volatile oil
สาร Cynarin นับเป็นสารหลักที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งสารนี้มีความเข้มข้นมากที่สุดในใบของอาร์ทิโชก จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่มีการนำใบอาร์ทิโชกมาใช้ทำยาสมุนไพรมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ ที่มีหลักฐานว่าออกฤทธิ์ทางยา ได้แก่ flavonoids, sesquiterpene lactones, polyphenols และ caffeoylquinic acids
- ล้างพิษตับและกระตุ้นการหลั่งน้ำดี 2,3,4,5
- มีหลักฐานการใช้อาร์ทิโชกในทางยามาตั้งแต่สมัยโบราณนับเป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้ว โดยใช้เพื่อรักษาโรคทางตับและถุงน้ำดี
- สาร Cynarin เป็นสารออกฤทธิ์หลักซึ่งมีฤทธิ์ทางยาหลายด้าน ได้แก่ ฤทธิ์ในการปกป้องตับจากสารพิษ ฤทธิ์ในการฟื้นฟูเซลล์ตับ และฤทธิ์ในการกระตุ้นการหลั่งน้ำดีของตับและถุงน้ำดี
- จากการศึกษาผู้ป่วยที่เป็นไขมันพอกตับซึ่งไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ เมื่อรับประทานสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกเป็นเวลา 2 เดือน พบว่าไขมันที่พอกตับลดลง ตับทำหน้าที่ได้ดีขึ้น และค่าเอนไซม์ตับดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
- ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ 6,7
- พบว่าในน้ำชาที่ได้จากใช้ใบอาร์ทิโชกผงแห้งแช่ในน้ำร้อนนั้น มีสารกลุ่ม polyphenolic compounds ซึ่งประกอบไปด้วย flavonoids ในปริมาณสูง และสารเหล่านี้เป็นสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
- พบว่าสาร Cynarin, caffeic acid, chlorogenic acid และ luteolin เหล่านี้เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีหลายกลไก ดังนี้ (ก) กำจัดอนุมูลอิสระโดยออกฤทธิ์เป็นสาร reducing agents (ข) ออกฤทธิ์จับกับอิออนของโลหะทรานซิชั่น ดังนั้นจึงลดการเกิดของอนุมูลอิสระ (ค) เก็บวิตามินอีและสารแคโรทีนอยด์ในอนุภาค LDL ซึ่งช่วยป้องกัน LDL จากการออกซิเดชั่น (ง) มีผลดีกับการทำงานของ serum paraoxonase ซึ่งเป็นโปรตีนบนผิวของ HDL และทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ จึงป้องกันการเกิด lipid peroxidation ที่ทำให้เกิดภาวะแข็งตัวของหลอดเลือด (atherosclerosis) ได้
- จากการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า สารสกัดจากใบอาร์ทิโชกมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ โดยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งมีผลต่อการแก่ของผิวพรรณและการเกิดโรคต่างๆ จากกระบวนการแก่ นอกจากนี้ยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด การอักเสบ มะเร็ง เบาหวาน หอบหืด และโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
- ลดโคเลสเตอรอล 8,9,10
- จากการศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากอาร์ทิโชกออกฤทธิ์ต่อการเมตาบอไลท์ของไขมัน โดยลดการสร้างโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ และยังช่วยลดการสะสมไขมันโดยช่วยให้การกระจายของไขมันไปยังทั่วร่างกายดีขึ้น
- สารสกัดจากอาร์ทิโชกออกฤทธิ์เพิ่มการสร้างน้ำดี ซึ่งเป็นทางหลักในการกำจัดโคเลสเตอรอล และส่งผลให้ลดโคเลสเตอรอลในทั้งในตับและในกระแสเลือด
- มีการศึกษาโดยใช้น้ำคั้นจากใบอาร์ทิโชก พบว่าช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขมันและหลอดเลือดในผู้ป่วยภาวะไขมันสูงในเลือด โดยให้ผู้ป่วยรับประทานวันละ 3 ครั้งพร้อมอาหาร เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์
- ช่วยย่อยอาหารและลดอาการ Irritable Bowel Syndrome (IBS) 11,12
- งานวิจัยหลายงานยืนยันประโยชน์ของสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกว่าสามารถช่วยระบบการย่อยอาหารให้ทำงานได้ดีขึ้น รวมถึงลดอาการของโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) ลดอาการอาหารไม่ย่อย อาการปวดท้อง ไม่สบายท้อง อาการปวดแสบปวดร้อนกลางอกและในกระเพาะอาหาร อาการท้องอืด คลื่นไส้และอาเจียน
- มีการศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อยจำนวน 454 ราย พบว่าสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกช่วยให้อาการผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้บรรเทาลง และยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องทรมานจากอาการอาหารไม่ย่อยให้ดีขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ
- ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด 13,14
- จากการพิสูจน์โดยการศึกษาพบว่าน้ำคั้นจากใบอาร์ทิโชกมีผลเพิ่มการทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดแดงให้ทำงานได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งทำการทดลองในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูงระดับปานกลางจำนวน 18 ราย (LDL cholesterol >130 – <200 mg/dl และ/หรือ triglycerides >150 – <250 mg/dl) เนื่องจากหากเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดแดงเสื่อมสภาพจะส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัวในระยะแรกและนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
- มีการทดลองในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะ metabolic syndrome เช่น อ้วนลงพุง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง HDL ต่ำ ความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น ซึ่งจะมีผลเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 64 ราย พบว่าสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกช่วยป้องกันการเกิด oxidized-LDL ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดแข็งตัวได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างมีนัยสำคัญ เมื่อได้รับประทานเป็นเวลานาน 12 สัปดาห์
เอกสารอ้างอิง
- Committee on Herbal Medicinal Products, Assessment report on Cynara scolymus L., folium. European Medicines Agency, 2012.
- Bekheet, SA, In vitro biomass production of liver-protective compounds from Globe artichoke (Cynara scolymus L.) and Milk thistle (Silybum marianum) plants, Emir. J. Food Agric. 2011. 23 (5): 473-481.
- Rangboo V, Noroozi M, Zavoshy R, et al., the effect of artichoke leaf extract on alanine aminotransferase and aspartate aminotransferase in the patients with nonalcoholic steatohepatitis. Int J Hepatol. 2016;2016:4030476.
- Panahi Y, Kianpour P, Mohtashami R, Atkin SL, et al., Efficacy of artichoke leaf extract in non-alcoholic fatty liver disease: A pilot double-blind randomized controlled trial. Phytother Res. 2018;32(7):1382-87.
- Aksu O, Altinterin B, Hepatoprotective effects of artichoke (Cynara scolymus), Cilt 1, Sayı 2. 2013. 1(2). DOI: 10.13140/2.1.1127.9043
- Piston M, Machado I, Branco CS, et al., Infusion, decoction, and hydroalcoholic extracts of leaves from artichoke (Cynara cardunculus L. subsp. cardunculus) are effective scavengers of physiologically relevant ROS and RNS, Food ResearchInternational 64 (2014): 150 –156.
- Sukoyan G, Gongadze NV, Demina NB, et al., Ageing Induced Hyperproduction of Reactive Oxygen Species and Dysbalance in Enzymatic Link of Antioxidant Defense System of Skin and Therapeutic Efficacy of Artichoke Extract, EJMP 2019, 27(4): 1-10.
- Rondanelli M, Monteferrario F, Perna S, et al., Health-promoting properties of artichoke in preventing cardiovascular disease by its lipidic and glycemic-reducing action, Monaldi Arch Chest Dis 2013; 80: 17-26.
- Rondanelli M, Monteferrario F, Perna S, Health-promoting properties of artichoke in preventing cardiovascular disease by its lipidic and glycemic-reducing action, Monaldi Arch Chest Dis 2013; 80: 17-26.
- Lupattelli G, Marchesi S, Lombardini R, et al., Artichoke juice improves endothelial function in hyperlipemia. Life Sci. 2004;76(7):775-82.
- Bundy R, Walker AF, Middleton RW, et al., Artichoke leaf extract reduces symptoms of irritable bowel syndrome and improves quality of life in otherwise healthy volunteers suffering from concomitant dyspepsia: a subset analysis. J Altern Complement Med. 2004;10(4):667-9.
- Marakis G, Walker AF, Middleton RW, et al., Artichoke leaf extract reduces mild dyspepsia in an open study. Phytomedicine. 2002;9(8):694-9.
- Lupattelli G, Marchesi S, Lombardini R, Artichoke juice improves endothelial function in hyperlipemia. Life Sci 2004; 76: 775-782.
- Rezazadeh K, Aliashrafi S, Asghari-Jafarabadi M, et al, Antioxidant response to artichoke leaf extract supplementation in metabolic syndrome: A double-blind placebo-controlled randomized clinical trial. Clin Nutr. 2018;37(3):790-6.