อาร์ทิโชก (Artichoke หรือ Cynara scolymus L.) เป็นพืชยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดและปลูกอย่างแพร่หลายในยุโรปแถบเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศที่ปลูกมากได้แก่ สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังพบปลูกในภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา อเมริกาใต้ จีน อียิปต์ โมรอคโค รวมถึงในประเทศเวียดนาม ซึ่งมีการปลูกอาร์ทิโชกเพื่อการผลิตเป็นชาและเป็นอาหารจำพวกพืชผัก 1
ประวัติการใช้อาร์ทิโชกทางยา2
- ตั้งแต่ 400 ปีก่อนคริสตกาล ธีโอฟราสตุส (Theopharastus) ศิษย์ของอริสโตเติล (Aristotle) เป็นคนแรกที่อธิบายถึงพืชที่ชื่อว่า “อาร์ทิโชก”
- ในสมัยจักรวรรดิโรมันอาร์ทิโชกจัดว่าเป็นพืชที่ชนชั้นสูงนำมารับประทานเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยและช่วยในการย่อยอาหาร
- จนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 16 พบบันทึกว่าอาร์ทิโชกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคตับและดีซ่าน (jaundice) หรืออาการตาเหลือง ตัวเหลือง ที่มักมีสาเหตุมาจากโรคตับ และ/หรือ โรคระบบทางเดินน้ำดี
- ค.ศ. 1850 แพทย์ชาวฝรั่งเศสนำสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกมาใช้รักษาดีซ่าน (jaundice) ได้เป็นผลสำเร็จ โดยทำการรักษาในเด็กชายคนหนึ่งที่มีอาการมานานหนึ่งเดือนและใช้ยาในสมัยนั้นรักษาไม่หาย
- ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสเริ่มทำการวิจัยการใช้อาร์ทิโชกทางยา และพบว่ามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการทำงานของไตและถุงน้ำดี
- ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนได้แยกสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกสำเร็จและให้ชื่อว่า “Cynarin” ซึ่งพบว่ามีฤทธิ์เป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับการใช้ทุกส่วนของอาร์ทิโชกรวมกัน
- ในช่วง ค.ศ. 1950 ถึง 1980 มีการสังเคราะห์สารไซนาริน นำมาใช้เป็นยาในการกระตุ้นการทำงานของตับและถุงน้ำดี เพื่อรักษาภาวะโคเลสเตอรอลสูง
อาร์ทิโชกอาหารเพื่อสุขภาพ3
จากข้อมูลของ the European Commission on Functional Food Science อาร์ทิโชกเป็นพืชที่มีองค์ประกอบที่เป็นประโยชน์มากไปกว่าคุณค่าทางโภชนาการพื้นฐาน เนื่องจากพบว่ามีฤทธิ์ที่เป็นผลดีต่อการทำหน้าที่ของอวัยวะบางอย่างและยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคบางชนิดได้อีกด้วย
ในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนมีการปลูกอาร์ทิโชกเพื่อนำมาใช้ในการบริโภคเป็นหลัก โดยรับประทานส่วนที่เป็นเนื้อนิ่มๆ ที่อยู่ภายกลีบด้านในและฐานรองดอก ซึ่งอยู่ภายในหัวที่ยังไม่โตเต็มที่ เมื่อเปรียบเทียบกับพืชผักชนิดอื่น อาร์ทิโชกนับว่ามีสารโพลีฟีนอลในปริมาณสูงซึ่งช่วยป้องกันตับ ลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ
หัวของดอกอาร์ทิโชกและใบประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุจำนวนมาก โดยเฉพาะ โฟเลต วิตามินซี ทองแดง เหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส และฟอสฟอรัส
Nutritional value of raw artichoke per 100g4, 5
หมายเหตุ:
* หัวอาร์ติโชกสดขนาดปานกลาง 1 หัว หนักประมาณ 128g ขนาดใหญ่ 1 หัว หนักประมาณ 162g
** ส่วนที่รับประทานได้ของอาร์ทิโชก ได้แก่ ส่วนกลีบด้านในที่ซ้อนกันและฐานรองดอก
*** Thai Recommended Daily Intakes – Thai RDI 1998 หมายถึงสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป โดยคิดจากความต้องการพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลอรี
**** ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2561 กำหนดให้ปริมาณของโซเดียมที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปเท่ากับ 2,000 มิลลิกรัม
ใบอาร์ทิโชกและคุณประโยชน์6, 7
ใบของอาร์ทิโชกได้มีการนำมาใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพรนามมาแล้วตั้งแต่ในอดีตกาล เนื่องจากในใบอาร์ทิโชกมีสารโพลีฟีนอลในปริมาณสูง และมีการนำสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกมาผลิตเป็นยาสำหรับรักษาโรคตับ
มีการศึกษาทดลองจำนวนมากที่พบว่าใบอาร์ทิโชกมีฤทธิ์ในทางยาหลายๆ ด้าน ได้แก่ กระตุ้นการหลั่งน้ำดีของตับ มีฤทธิ์ลดโคเลสเตอรอลในเลือด และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ นอกจากนี้เชื่อว่าสารสกัดจากใบอาร์ทิโชกให้ผลดีในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร และอาการปวดหรือไม่สบายท้องจากความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น (dyspeptic syndromes)
ใบอาร์ทิโชกที่นำมาใช้เป็นสมุนไพรทางการค้า ได้แก่ ผลิตเป็นชาสมุนไพรอาร์ทิโชก และสารสกัดจากน้ำและแอลกอฮอล์ จึงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายถึงประโยชน์ในการดื่มชาอาร์ทิโชกเพื่อบำรุงตับและระบบย่อยอาหาร
Reference:
1T.K. Lim, Edible Medicinal and Non-Medicinal Plants: Volume 7, Flowers, p.291-328. DOI 10.1007 /978-94-007-7395-0_20, © Springer Science+Business Media Dordrecht 2014
2Behara, YR et al, Pharmacological studies on artichoke leaf extract -An edible herb of Mediterranean Origin, JPBMS, 2011, 11(11).
3Ceccarelli, N. et al, Globe artichoke as a functional food, Mediterr J Nutr Metab (2010) 3:197–201.
4USDA National Nutrient database
5A., EI Sayed et al., Artichoke edible parts are hepatoprotective as commercial leaf preparation, Revista Brasileira de Farmacognosia 28 (2018) 165–178.
6Ceccarelli, N. et al, Globe artichoke as a functional food, Mediterr J Nutr Metab (2010) 3:197–201.7Piston, M. Infusion, decoction and hydroalcoholic extracts of leaves from artichokes (Cynara cardunculus L. subsp. Cardunculus) are effective scavengers of physiologically relevant ROS and RNS, Food Research International, 64: (204) 150-156.
เอกสารอ้างอิง:
1T.K. Lim, Edible Medicinal and Non-Medicinal Plants: Volume 7, Flowers, p.291-328. DOI 10.1007 /978-94-007-7395-0_20, © Springer Science+Business Media Dordrecht 2014
2Behara, YR et al, Pharmacological studies on artichoke leaf extract -An edible herb of Mediterranean Origin, JPBMS, 2011, 11(11).
3Ceccarelli, N. et al, Globe artichoke as a functional food, Mediterr J Nutr Metab (2010) 3:197–201.
4USDA National Nutrient database
5A., EI Sayed et al., Artichoke edible parts are hepatoprotective as commercial leaf preparation, Revista Brasileira de Farmacognosia 28 (2018) 165–178.
6Ceccarelli, N. et al, Globe artichoke as a functional food, Mediterr J Nutr Metab (2010) 3:197–201.7Piston, M. Infusion, decoction and hydroalcoholic extracts of leaves from artichokes (Cynara cardunculus L. subsp. Cardunculus) are effective scavengers of physiologically relevant ROS and RNS, Food Research International, 64: (204) 150-156